วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560

การจัดการระบบไฟล์ ในระบบปฎิบัติการ Linux

การจัดการระบบไฟล์

ความหมายและความสำคัญของระบบปฏิบัติการ Linux

ลีนุกซ์คืออะไร

            ลีนุกซ์ระบบปฏิบัติการแบบ 32 บิต ที่เป็นยูนิกซ์โคลน สำหรับเครื่องพีซี และแจกจ่ายให้ใช้ฟรี สนับสนุนการใช้งานแบบหลากงาน หลายผู้ใช้ (MultiUser-MultiTasking) มีระบบ X วินโดวส์ ซึ่งเป็นระบบการติดต่อผู้ใช้แบบกราฟฟิก ที่ไม่ขึ้นกับโอเอสหรือฮาร์ดแวร์ใดๆ (มักใช้กันมากในระบบยูนิกซ์) และมาตรฐานการสื่อสาร TCP/IP ที่ใช้เป็นมาตรฐานการสื่อสารในอินเทอร์เนตมาให้ในตัว ลีนุกซ์มีความเข้ากันได้ (compatible) กับ มาตรฐาน POSIX ซึ่งเป็นมาตรฐานอินเทอร์เฟสที่ระบบยูนิกซ์ส่วนใหญ่จะต้องมีและมีรูปแบบบางส่วนที่คล้ายกับระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จากค่าย Berkeley และ System V โดยความหมายทางเทคนิคแล้วลีนุกซ์ เป็นเพียงเคอร์เนล (kernel) ของระบบปฏิบัติการ ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านของการจัดสรรและบริหารโพรเซสงาน การจัดการไฟล์และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ แต่ผู้ใช้ทั่วๆไปจะรู้จักลีนุกซ์ผ่านทางแอพพลิเคชั่นและระบบอินเทอร์เฟสที่เขาเหล่านั้นเห็น (เช่น Shell หรือ X วินโดวส์) ถ้าคุณรันลีนุกซ์บนเครื่อง 386 หรือ 486 ของคุณ มันจะเปลี่ยนพีซีของคุณให้กลายเป็นยูนิกซ์เวอร์กสเตชันที่มีความสามารถสูง เคยมีผู้เทียบประสิทธิภาพระหว่างลีนุกซ์บนเครื่องเพนเทียม และเครื่องเวอร์กสเตชันของซันในระดับกลาง และได้ผลออกมาว่าให้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน และนอกจากแพลตฟอร์มอินเทลแล้ว ปัจจุบันลีนุกซ์ยังได้ทำการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้บนแพลตฟอร์มอื่นๆด้วย เช่น DEC Alpha , Motorolla Power-PC , MIPS เมื่อคุณสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาบนแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งแล้ว คุณก็สามารถย้ายแอพพลิเคชันของคุณไปวิ่งบนแพลตฟอร์มอื่นได้ไม่ยาก ลีนุกซ์มีทีมพัฒนาโปรแกรมที่ต่อเนื่อง ไม่จำกัดจำนวนของอาสาสมัครผู้ร่วมงาน และส่วนใหญ่จะติดต่อกันผ่านทางอินเทอร์เนต เพราะที่อยู่อาศัยจริงๆของแต่ละคนอาจจะอยู่ไกลคนละซีกโลกก็ได้ และมีแผนงานการพัฒนาในระยะยาว ทำให้เรามั่นใจได้ว่า ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีอนาคต และจะยังคงพัฒนาต่อไปได้ตราบนานเท่านาน

ทำไมถึงต้องเป็นลีนุกซ์

            เนื่องจากเป็นระบบปฏิบัติการที่ฟรี คุณสามารถจะขอจากผู้ที่มีลีนุกซ์ หรือจะดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ต หรือบีบีเอสได้โดยไม่ผิดกฏหมาย เนื่องจากมีผู้นิยมใช้มาก ทำให้มีผู้นำลีนุกซ์ไปแก้ไขให้สามารถใช้งานได้บนตัวประมวลผลกลางหลากหลายตั้งแต่อินเทลโมโตโรลาดิจิตอลอัลฟาพาวเวอร์พีซีไปจนถึง สปาร์คของซัน นอกจากนี้ยังมีผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ออกมากันมากมาย มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูง ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ 32 บิตเต็มรูปแบบ ซึ่ง สามารถจะดึงเอาพลังของเครื่องคอมพิวเตอร์ออกมาได้อย่างเต็มกำลัง ลีนุกซ์ถูกพัฒนา จากผู้พัฒนานับร้อยทั่วโลก แต่ Linus จะเป็นคนวางทิศทางในการพัฒนาด้วยตัวเอง มีคุณลักษณะของระบบ UNIX เต็มรูปแบบ และเป็นระบบหลากผู้ใช้ หลายงานอย่าง แท้จริง ลีนุกซ์มีระบบอินเทอร์เฟสแบบกราฟฟิคที่เรียกกันว่า X Windows ซึ่งเป็น มาตรฐานของระบบยูนิกซ์ทั่วๆไป และสามารถใช้ window manager ได้หลายชนิด ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังสนับสนุนโปรโตคอลแบบ TCP/IP ,SLIP, PPP, UUCP และอื่นๆ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ง่าย มีเอกสารหลากหลาย (กรุณาดูข้างล่าง) และผู้คนมากมายคอยสนับสนุนคุณผ่านอินเทอร์เน็ต หรือคุณอาจจะหาการสนับสนุนจากบริษัทที่ปรึกษา หรือจากบริษัทผู้จัดจำหน่ายระบบลีนุกซ์ก็ได้ มีเหตุผลหลายประการที่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผู้คนถึงชอบลีนุกซ์ แต่โดยส่วนตัวแล้ว น่าจะเป็นเพราะการพัฒนาอย่างรวดเร็วของลีนุกซ์ เนื่องจากคุณสามารถเห็นการเปลี่ยน แปลงตัวเคอร์เนล และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ใหม่ๆออกมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่เคยพบเห็นในระบบที่แจกจ่ายฟรีแบบนี้ที่ไหนมาก่อนเลย ผู้ใช้งานและแอพพลิเคชันบนลีนุกซ์ บรรดาผู้ใช้งานบนลีนุกซ์มีได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นระดับเคอร์นัลแฮกเกอร์ ซึ่งจะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบปฏิบัติการในระดับลึก ไปจนถึงเอนด์ยูเซอร์หรือผู้ใช้ทั่วไป คุณสามารถใช้ลีนุกซ์ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเอาไว้ทำการศึกษาระบบยูนิกซ์ หรือคุณสามารถจะศึกษาตัวอย่างการเขียนรหัสโปรแกรมที่ดีได้ หากต้องการจะใช้แอพพลิเคชันบนดอส หรือบนวินโดว์ส ลีนุกซ์ก็จะมีดอสอีมูเลเตอร์ (DOSEMU) และวินโดว์สอีมูเลเตอร์ (WINE) ให้ สำหรับอีมูเลเตอร์ทั้งสองตัวนี้ยังอยู่ในขั้นทดสอบ และยังรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดว์สได้ไม่มาก แต่ทีมพัฒนาโปรแกรมทั้งสองนี้ก็ยังทำการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และตั้งเป้าหมายว่าจะต้องรันแอพพลิเคชันของดอสกับวินโดวส์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ล่าสุดทางบริษัท Caldera ได้ทำการซื้อลิขสิทธ์ WABI 2.2 ซึ่งเป็นอีมูเลเตอร์สำหรับรันแอพพลิเคชันของวินโดว์ส ที่ใช้ในเวอร์กสเตชันของซันมาใส่ในผลิตภัณฑ์ OpenLinux ของตน

ความแตกต่าง

    linux file system Ext2

เป็น file system รุ่นที่ 2 ของ linux
เกิดขึ้นมาเมื่อ 1993 โดย R?my Card 
สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาของ Ext version แรก
ยังไม่มี journaling feature
เหมาะสำหรับ flash drive , usb drive เพราะว่าไม่มี over head ของ journaling
ขนาดไฟล์ size สูงสุด คือ 16 GB ถึง 2TB
พื้นที่เก็บ สูงสุดที่ใช้ Ext2 คือ 2TB ถึง 32TB

   linux file system Ext3

เป็น file system รุ่นที่ 3 ของ linux
เกิดขึ้นมาเมื่อ 2001 โดย Stephen Tweedie 
เริ่มใช้ตั้งแต่ Linux Kernel 2.4.15
หลักของมันก็คือมี Journaling ให้ใช้
Journaling เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ file system ทำหน้าที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เก็บใน file system (เหมือนตัวบันทึกเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ) เมื่อระบบ file system พังขึ้นมา ก็ยังสามารถกู้ข้อมูลได้เร็วขึ้น เพราะว่ามีการบันทึกเอาไว้ ว่าไฟล์ไหนถูกแก้ไขไปบ้างก่อนที่ระบบจะล่ม
ขนาดไฟล์ และ ขนาดพื้นที่รวม ยังคงเท่า Ext2
Journaling มีให้เลือกใช้ 3 แบบ
Journal - เก็บ metada และ content
Ordered - เก็บเฉพาะ metadata เท่านั้น โดยเก็บเฉพาะส่วนการเขียนข้อมูลอย่างเดียว
Writeback - เก็บเฉพาะ metada เท่านั้น โดยอาจจะเก็บทั้งก่อน และ หลัง การเขียนข้อมูล
สามารถแปลงจาก Ext2 มาเป็น Ext3 ได้โดยไม่ต้องมีกระบวนการ backup / restore
directory สามารถจุได้ 32,000 sub directory

linux file system Ext4

เป็น file system รุ่นที่ 4 ของ linux
เกิดเมื่อปี 2008
เริ่มใช้ใน Linux Kernel 2.6.19
รองรับไฟล์ขนาดใหญ่ และ พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่
ขนาดไฟล์ที่ใหญ่สุดที่เก็บได้คือ 16GB ถึง 16TB
พื้นที่เก็บไฟล์ขนาดใหญ่ที่สุดที่รองรับ คือ 1 EB (exabyte) 1EB เท่ากับ 1024 PB (petabyte) 1 PB = 1024 TB (terabyte) หรือเข้าใจง่ายๆคือมันเก็บได้ 1024*1024*1024*1024 gigabyte เลยทีเดียว
directory (folder) สามารถจุได้ 64,000 sub directory
feature ใหม่ใน ext4 คือ multiblock allocation, delayed allocation, journal checksum, fast fsck และ อื่นๆ โดยจะช่วยเพิ่ม performance และ ความเสถียรให้มากกว่า ext3
ใน ext4 สามารถสั่งปิด journaling ได้

เปรียบเทียบ ext3, ext4 และ xfs บน Fedora 10

คุณสมบัติใหม่อย่างหนึ่งของ Fedora 10 ที่เพิ่มจากเวอร์ชั่นก่อน คือการสนับสนุน filesystem เพิ่มเติม ประกอบด้วย ext4 และ xfs
หลังจากที่ได้ทดลองติดตั้ง Fedora 10 เลยเกิดความลังเลว่าจะเปลี่ยน filesystem เป็นแบบใหม่หรือไม่ เลยลองรันคำสั่งง่ายๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพการสร้าง การลบไฟล์ เป็นต้น

 ระบบที่ใช้ทดสอบ

ตอนติดตั้ง Fedora 10 สร้าง partition ขนาด 2 GB เพิ่มเติมจำนวน 3 partition เลือก filesystem แตกต่างกัน คือ ext3, ext4, xfs แล้วตั้งชื่อ mount point ตามชนิด filesystem ดังนี้

[root@fc10-fs ~]# df -k
...
/dev/sda9              2023920     35836   1885272   2% /mnt/ext3
/dev/sda10             2023920     35792   1885316   2% /mnt/ext4
/dev/sda11             2046048      4256   2041792   1% /mnt/xfs
[root@fc10-fs ~]# mount
...
/dev/sda9 on /mnt/ext3 type ext3 (rw)
/dev/sda10 on /mnt/ext4 type ext4 (rw)
/dev/sda11 on /mnt/xfs type xfs (rw)

การสร้างไฟล์ 1 GB
ใช้คำสั่ง dd เพื่อสร้างไฟล์ขนาด 1 GB ตามตัวอย่างด้านล่าง

[root@fc10-fs ~]# dd if=/dev/zero of=/mnt/ext3/file-1G.bin bs=1000000 count=1000

เวลาที่ใช้ในการสร้างไฟล์ขนาด 1 GB

ext3: 18.0096 s   (55.5 MB/s)
ext4: 14.2582 s   (70.1 MB/s)
xfs:  13.0057 s   (76.9 MB/s)

ขนาด partition ที่ใช้ไปจากการสร้างไฟล์ 1 GB

[root@fc10-fs ~]# df -k
...
/dev/sda9              2023920   1013360    907748  53% /mnt/ext3
/dev/sda10             2023920   1012360    908748  53% /mnt/ext4
/dev/sda11             2046048    980820   1065228  48% /mnt/xfs

การลบไฟล์ 1 GB
ใช้คำสั่ง rm เพื่อลบไฟล์ขนาด 1 GB ตามตัวอย่างด้านล่าง

[root@fc10-fs ~]# rm -f /mnt/ext3/file-1G.bin

เวลาที่ใช้ในการลบไฟล์ขนาด 1 GB

ext3: 0.095 s
ext4: 0.073 s
xfs:  0.592 s

การสร้างไฟล์ขนาด 1 MB จำนวน 1000 ไฟล์
เขียน shell script เพื่อเรียกคำสั่ง dd เพื่อสร้างไฟล์ขนาด 1 MB จำนวน 1000 ไฟล์ ตามตัวอย่างด้านล่าง

i=1
while [ $i -le 1000 ]; do
 dd if=/dev/zero of=/mnt/ext3/file-1M-$i.bin bs=1000000 count=1 > /dev/null 2>&1
  i=`expr $i + 1`
done

เวลาที่ใช้ในการสร้างไฟล์ขนาด 1 MB จำนวน 1000 ไฟล์

ext3: 50.916 s
ext4: 46.584 s
xfs:  44.516 s

ขนาด partition ที่ใช้ไปจากการสร้างไฟล์ 1 MB จำนวน 1000 ไฟล์

[root@fc10-fs ~]# df -k
...
/dev/sda9              2023920   1019872    901236  54% /mnt/ext3
/dev/sda10             2023920   1015896    905212  53% /mnt/ext4
/dev/sda11             2046048    985268   1060780  49% /mnt/xfs

การลบไฟล์ขนาด 100 MB จำนวน 100 ไฟล์
ใช้คำสั่ง rm เพื่อลบไฟล์ ตามตัวอย่างด้านล่าง

[root@fc10-fs ~]# rm -f /mnt/ext3/file*

เวลาที่ใช้ในการลบไฟล์ขนาด 1 MB จำนวน 1000 ไฟล์

ext3: 0.432 s
ext4: 0.178 s
xfs:  0.845 s

COPY ไฟล์ขนาด 500 MB ใน PARTITION เดียวกัน
ใช้คำสั่ง dd เพื่อสร้างไฟล์ขนาด 500 MB แล้วใช้คำสั่ง cp เพื่อ copy เป็นอีกไฟล์หนึ่ง ใน partition เดียวกัน
[root@fc10-fs ~]# dd if=/dev/zero of=/mnt/ext3/file-500M.bin bs=1000000 count=500
[root@fc10-fs ~]# cp /mnt/ext3/file-500M.bin /mnt/ext3/file-500M-copy.bin

เวลาที่ใช้ในการ copy ไฟล์ขนาด 500 MB

ext3: 1m 44.266 s
ext4: 1m 40.074 s
xfs:  1m 12.585 s

แนวโน้นระบบไฟล์ลีนุกในอนาคต
แนวโน้ม Linux ในประเทศไทยในอนาคต แนวโน้ม Linux ในประเทศไทย ถ้าพิจารณาแล้วจะสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มคือกลุ่ม องค์กร และ กลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งมีแนวโน้มที่ต่างกัน เนื่องจากการจุดประสงค์การใช้งาน และ ปัจจัยอื่นๆ ต่างกันอย่างมาก จึงต้องแยกพิจารณาเป็นส่วนๆไปดังนี้ 

            1.องค์กร ราชการ หน่วยงานต่างๆ 

            กลุ่มนี้มี แนวโน้มการใช้ Linux สูงขึ้นเพื่อลดต้นทุน ขององค์กรเนื่องจาก Linux เป็น open source จึงมีต้นทุนต่ำมาก เมื่อเทียบกับการต้องชื้อ Windows มาใช้ เนื่องจาก องค์กรต้องเสียค่า license ระบบปฏิบัติการ เช่น Microsoft Windows XP และ โปรแกรม Office Suit เช่น Microsoft Office 2003 ปีล่ะหลายล้านบาท แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้ Linux ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะลดลงมาก และใน องค์กร ส่วนใหญ่แล้วจะมี Server Computer ที่ใช้ในการบริการเครื่องลูกข่ายในองค์กร ซึ่ง ค่า license ระบบปฏิบัติการ ของเครื่องพวกนี้จะสูงมากและแพงขึ้นตามเครื่องลูกข่ายในองค์กร หน่วยงานส่วนใหญ่แล้วจึงเปลี่ยน ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับ Server Computer มาเป็น Linux แทนการใช้ระบบ จากทาง Microsoft (Microsoft Windows 2003 Server) หรือระบบจากทาง Sun Microsystems (Solaris) และในปัจจุบันนี้ Linux สามารถทำงานกับภาษาไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมี โปรแกรมออกมารองรับจำนวนมากเช่น star office ของ Sun Microsystems ที่ทำงานได้ดีพอๆกับ ms office เลยทีเดียว ที่สำคัญ เป็นของที่ทั้งฟรีและดีด้วย แต่ ข้อเสียของ Linux คือความยุ่งยากและความเข้ากันได้ ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับองค์กรที่ไม่ใหญ่มากเพราะต้องมีเจ้าหน้าที่ ที่มีความเชียวชาญ Linux และโปรแกรมสำเร็จรูปยังมีน้อยมาก

            2.ผู้ใช้ทั่วไป หรือ End user, office ขนาดเล็ก ถึง ขนาดกลาง

            กลุ่มนี้มีแนวโน้มที่คงที่จนถึงต่ำลง เนื่องจากจุดอ่อนของ Linux คือความยุ่งยากในการใช้งานและความเข้ากันได้ของระบบ ทำให้ผู้ใช้งานในระดับนี้ไม่เลือกที่จะใช้ Linux เพราะเวลาที่เสียไปไม่คุ้มกับความสะดวกและเงินที่เสียไป เนื่องจากผู้ใช้ตามบ้านต้องการใช้งานด้าน Multimedia และ Windows ทำในจุดนี้ได้ดีกว่า Linux อยู่มาก เช่นมาตรฐาน DirectX เป็นมาตรฐานเกม ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ฉะนั้นเกมเกือบทุกเกมจะพัฒนาตาม DirectX และ โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆที่พัฒนาตามมาตรฐาน MFC (Microsoft Fundamental Class) ยกตัวอย่างเช่น Computer เอื้ออาทร ที่ ICT ขายพร้อมกับ Linux ทะเลที่หวังจะให้ผู้ใช้มือใหม่หัดใช้ Linux และดันให้เป็น ระบบ ปฏิบัติการแห่งชาติ แต่เนื่องจากความไม่เข้ากันของ Linux กับ software ต่างๆในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่เป็นของ windows และความยุ่งยากในการใช้งาน ทำให้หลายคนยกเครื่องไปเปลี่ยนระบบปฏิบัติการเป็น windows และ ด้วยราคาของ Windows XP starter edition ขายในราคา ประมาณ 1000 บาท, Home Edition ราคาประมาณ 5000 บาท และ Professional Edition 8000 บาท ประกอบกับราคาของ Computer ที่ต่ำลงทำให้หลายคนยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่มเพื่อความสะดวกในการใช้งาน และสามารถใช้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ได้อย่างเต็มที่ ขอยกตัวอย่างง่ายๆ Linux ไม่สามารถ เล่นเกม หลายๆ เกมได้เพราะ ส่วนมากเกมจะพัฒนาบนมาตรฐาน Windows และอีกและโปรแกรมสำเร็จรูป ที่ทำมาเพื่อ Windows และด้วยความยุ่งยากของ Linux ที่ทำให้หลายๆท่านไม่คิดจะใช้ Linux (ถ้าไม่จำเป็น) 

            ในส่วนของ สำนักงานขนาดเล็ก ถึง ขนาดกลาง จะไม่นิยมใช้ Linux เนื่องจาก ดูแลรักษาและใช้งานได้ลำบาก อีกทั้งจะเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างเจ้าหน้าทีมาดูแลมากกว่า และ โปรแกรมสำเร็จรูป ต่างๆก็ไม่มีมาก 
Linux มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่ามีความพร้อมและความเหมาะสมแค่ไหน ถ้าต้องการความสะดวกสบาย และความง่าย ความเข้ากันได้กับระบบ Linux ไม่น่าจะใช้คำตอบที่ดีนักแต่ถ้าต้องการ เสถียรภาพ และ ความคุ้มค่า ซึ่งต้องแลกมากับความยุ่งยาก Linux น่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่า ดังนั้น แนวโน้มจึงสวนทางกันอย่างเห็นได้ชัด

            -ในการติดตั้ง ผู้ใช้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการ Partition ของฮาร์ดดิสก์เป็นอย่างดี เพราะ Linux มีระบบไฟล์ที่แตกต่างออกไปจาก Windows และการติดตั้งโดยส่วนใหญ่จะต้องทำบนระบบไฟล์ของ Linux เองเท่านั้น การติดตั้ง Linux เป็นระบบปฏิบัติการเพียงระบบเดียวนั้นอาจจะไม่เจอปัญหาที่ยุ่งยากมากนัก แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้มักจะต้องการที่จะเก็บ Windows ไว้ใช้งานด้วย ดังนั้นหากผู้ใช้ไม่มีความรู้ความชำนาญอย่างเพียงพอก็อาจจะทำให้ Windows ไม่สามารถใช้งานเป็นปกติได้ ปัญหาดังกล่าวนี้อาจป้องกันได้โดยการสำรอง (backup) แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ บนฮาร์ดดิสก์ไว้ก่อน แล้วจึงทำการแบ่ง partition และติดตั้ง Linux ต่อไป

            -ในการจะรันระบบ X-Windows นั้นผู้ใช้จะต้องรู้เกี่ยวกับ Hardware ภายในเครื่องเป็นอย่างดี เพราะในการติดตั้งอาจจะมีอุปกรณ์บางตัวที่ Linux จาก Distributor ที่เราเลือกใช้ยังไม่สนับสนุน หรือเรียกง่ายๆ ว่าไม่มี Driver นั่นเอง ทำให้ผู้ใช้จำเป็นจะต้องระบุรายละเอียดต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจเกิดความไม่สะดวก และบางครั้งอาจจะทำให้ X-Windows ไม่สามารถใช้งานได้

            -แม้ว่าLinux จะมีระบบ X-Windows ที่ช่วยให้ผู้ใช้มีความสะดวกมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีจุดที่แตกต่างจาก MS-Windowsที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้นเคย ทำให้ยังคงต้องเรียนรู้เพิ่มเติม ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร



อ้างอิง


จัดทำโดย

5941120001    นาย ภานุวัฒน์             แหยมปึ่ง
5941120021    นาย พิทยา                   แย้มขุมทอง
5941120045    นาย พิริยะ                   อึ้งชื่น
5941120059    นาย จุตติพร                แก้วสุวรรณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น